ประวัติความเป็นมา
สถานที่ตั้ง
อำเภอปะทิวมีพื้นที่ประมาณ 779.92 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 487,550 ไร่ ที่ว่าการอำเภอปะทิวตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 7 บ้านบางสน ตำบลบางสน โดยเส้นทางคมนาคมจากตัวอำเภอปะทิวถึงจังหวัดชุมพร ทางรถไฟมีระยะทาง 30กิโลเมตร และทางรถยนต์สามารถเดินทางได้ 2 เส้นทางคือ
1. ถนนสายปะทิว – ท่าแซะ – ชุมพร ระยะทางรวม 58 กิโลเมตร
2. ถนนสายปะทิว – สะพลี – ชุมพร ระยะทางรวม 30 กิโลเมตร
ตั้งอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครระยะทางประมาณ 500 กิโลเมตร และมีอาณาเขตติดต่อดังนี้คือ
– ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
– ทิศตะวันออก ติดต่อกับทะเลอ่าวไทย
– ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร
– ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร
![](https://sasukpathio.go.th/wp-content/uploads/2023/12/bannerpathio01-1198x800.jpg)
![](https://sasukpathio.go.th/wp-content/uploads/2023/12/mappathiu.jpg)
สภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ
เป็นพื้นที่ราบระหว่างภูเขา ภูเขาหินและเนินเขาเป็นจำนวนมาก พื้นที่เหมาะแก่การทำกสิกรรม มีการทำสวนยางพารา ปาล์มน้ำมันและสวนผลไม้ต่างๆ นอกจากนี้อำเภอปะทิว ยังมีพื้นที่ชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 80กิโลเมตร ประชาชนริมชายฝั่งประกอบอาชีพประมงขนาดเล็กอีกอาชีพหนึ่ง
สภาพภูมิอากาศทั่วไป อำเภอปะทิว มีอากาศชุ่มชื้น มีฝนตกชุกเกือบตลอดทั้งปี และมีฤดูฝนยาวนาน จากเดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ฤดูร้อน อากาศไม่ร้อนจัด ส่วนในฤดูหนาวมีเพียงอากาศเย็นเท่านั้น โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 27 องศาเซลเซียส
การปกครองและประชากร
อำเภอปะทิวแบ่งออกเป็น 7 ตำบล 75 หมู่บ้าน หลังคาเรือน 18,892 หลัง ประชากร 46,225 คน (ประชากรกลางปี ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2563) เพศชาย 22,506 คน เพศหญิง 23,719 คน ความหนาแน่นประชากร 59 คนต่อตารางกิโลเมตร
สภาพทางเศรษฐกิจ/การประกอบอาชีพ
อำเภอปะทิว เป็นอำเภอที่มีแนวชายฝั่งทะเลทอดตัวยาวตลอดทางด้านตะวันออกของอำเภอและภูมิประเทศส่วนใหญ่เหมาะแก่การเพาะปลูก อาชีพที่สำคัญ ได้แก่ การปลูกยางพารา ปาล์มน้ำมัน สวนผลไม้ และการประมง
การคมนาคมและขนส่ง
- ทางรถยนต์
- ทางรถไฟ
- ทางเครื่องบิน
การศึกษา
โรงเรียนประถมศึกษา (สพฐ.) 30 แห่ง
โรงเรียนมัธยมศึกษา 2 แห่ง
โรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ 1 แห่ง
เขตการปกครอง
การปกครองส่วนภูมิภาค อำเภอปะทิวแบ่งการปกครองออกเป็น 7 ตำบล 75 หมู่บ้าน
ตารางที่ 1 การปกครองของอำเภอปะทิว จำแนกตามตำบล หมู่บ้าน และระยะห่างจากอำเภอปะทิว
ตำบล |
จำนวน หมู่บ้าน |
จำนวน ประชากร |
จำนวน หลังคาเรือน |
ระยะห่าง จากอำเภอ |
บางสน |
8 |
4,781 |
2,057 |
5 กม. |
ทะเลทรัพย์ |
8 |
4,988 |
1,894 |
10 กม. |
สะพลี |
11 |
7,992 |
2,562 |
12 กม. |
ชุมโค |
14 |
10,511 |
4,451 |
12 กม. |
ดอนยาง |
16 |
8,805 |
2,184 |
30 กม. |
ปากคลอง |
7 |
4,430 |
1,584 |
30 กม. |
เขาไชยราช |
11 |
4,781 |
2,086 |
35 กม. |
รวม |
75 |
46,225 |
16,808 |
– |
ที่มา : งานข้อมูลข่าวสาร สำนักงานสาธารณสุขอำเภอปะทิว (ประชากรกลางปี ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2563)
การปกครองส่วนท้องถิ่น
– เทศบาลตำบล จำนวน 6 แห่ง คือ เทศบาลตำบลปะทิว , เทศบาลตำบลบางสน , เทศบาลตำบลมาบอำมฤต , เทศบาลตำบลสะพลี , เทศบาลตำบลทะเลทรัพย์ และเทศบาลตำบลชุมโค
– องค์การบริหารส่วนตำบล 4 แห่ง คือ อบต.สะพลี , อบต.ปากคลอง , อบต.ดอนยางและ อบต.เขาไชยราช
ข้อมูลศาสนา
- วัด/สำนักสงฆ์ 24 แห่ง
- โบสถ์คริสต์ 2 แห่ง
- มัสยิด 2 แห่ง
ทำเนียบสาธารณสุขอำเภอปะทิว
ลำดับ |
รายชื่อ |
ปี พ.ศ. |
1 |
นายปัญญา ประมวลผล |
2499-2505 |
2 |
นายสมเพ็ชร ไกรวงศ์ |
2505-2510 |
3 |
นายสำราญ ธรรมวิชิต |
2511-2512 |
4 |
นายบุญมี ใหม่มงคล |
2512-2523 |
5 |
นายสนั่น เพชรอุแท |
ต.ค.23-ต.ค.31 |
6 |
นายสัญญา ศรีนฤพัฒน์ |
ต.ค.31-ต.ค.34 |
7 |
จ่าเอกสุพิศ นาควิเชียร |
ต.ค.34-พ.ย.36 |
8 |
นายทวีป นามปิ่นเขต |
ต.ค.36-ต.ค.37 |
9 |
นายปรีชา สมเนียม |
ต.ค.37-ต.ค.43 |
10 |
นายไพโรจน์ เพชรอุแท |
ต.ค.43-ม.ค.48 |
11 |
นายวรเกียรติ ศรีเวชนันต์ |
ม.ค.48-ต.ค.51 |
12 |
นายพิสูจน์ ภิโสรมย์ |
ต.ค.51-พ.ย.56 |
13 |
นายวิชาญ ไชยแขวง |
พ.ย.56-ก.ย.59 |
14 |
นายประจักษ์ กมลวิริยะวัฒน์ | ก.ย.59-ส.ค.62 |
15 |
นายสุทธิพงศ์ เหล่าศิริวุฒิ | ส.ค.62-ต.ค.64 |
16 |
นายสมชัย ชูชาติ |
ต.ค.64-ปัจจุบัน |